วันศุกร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ต่างศาสนาฟ้าเดียวกัน - เพลงพระโอวาทสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ประทานโดยเทพผู้ด้อยปัญญา ซูตงปอ

เพลงพระโอวาทสิ่งศักดิ์สิทธิ์  
ประทานโดยเทพผู้ด้อยปัญญา ซูตงปอ เมตตาประทานกล่อมเกลา

ชื่อเพลงต่างศาสนาฟ้าเดียวกัน
ทำนองเพลงเลือดข้นกว่าน้ำ

วันพุธที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ธรรมะ คือ...? อะไรคือธรรมะ ความหมายอยู่ที่ไหน

ธรรมะ ปราศจากรูปนาม มิใช่ความมี มิใช่ความไม่มี

ความใหญ่ของธรรมะโอบล้อมมหาจักรวาลความเล็กของธรรมะแทรกซอนอยู่ได้ในฝุ่นธุลี

ธรรมะอุ้มชูปรับแปรอินหยาง ทำให้สรรพสิ่งเกิดดับเป็นไป เป็นรากฐานของสรรพสิ่ง

เป็นหลักของมหาจักรวาล ลี้ลับล้ำลึก เหนือความลี้ลับล้ำลึกที่มิอาจกล่าวอ้างจบสิ้นได้ด้วยวาจา มิอาจบรรยายให้จบสิ้นได้ด้วยอักษร มิอาจกำหนดชื่อของภาวะนั้นได้ แต่เพื่อชี้นำมวลเวไนย์ จึงจำใจให้ชื่อว่า "ธรรมะ" ( เต๋า 道 )

ธรรมะคือหลัก สรรพสิ่งล้วนมีหลักสัจธรรมอยู่ในตัว

ฟ้ามีหลักสัจธรรมของฟ้า
แผ่นดิน (โลก) มีหลักสัจธรรมของแผ่นดิน
สรรพสิ่งมีหลักของสรรพสิ่ง
เรื่องราวมีหลักการของเรื่องราว
คนมีหลักการของคน
ยังมีหลักการแพทย์ หลักชะตาชีวิต หลักการปกครองดูแล หลักการบริหาร หลักการศึกษา และหลักต่างๆ

ความเป็น "หลัก" นี้เอง ที่ได้ชื่อว่า "ธรรมะ"

ธรรมะเป็นหนทาง (วิถี)
วิถีทาง ครรลอง เช่นการก่อเกิดสัณฐานโลก เริ่มจากความว่างจนเกิดมี จากมีอยู่กลับคืนไปสู่ความว่างเปล่าดังเดิม เป็นครรลอง เป็นหลักธรรม

ธรรมะมีหลัก มีพลังประจุอยู่เต็มทั่วสิบทิศอนุมานได้เรื่อยไปเหมือนไม่มีที่สิ้นสุด แต่หากเกิดศรัทธาแท้ เพียงแค่กำหนดจิต ก็จะเข้าถึงภาวะของความเป็นธรรมะได้ทันใด

พลังของธรรมะปรกแผ่จากอนุตตรภาวะเบื้องสูงสุด สรรพสิ่งภายในมหาจักรวาลจึงมีพลังของธรรมะประจุอยู่

สรรพสิ่งจึงบังเกิดมีด้วยพลังของธรรมะ

พิจารณาจากอักษรจีนคำว่า ธรรมะ คือ 道
สองจุด หมายถึง อินหยาง
หนึ่งขีดรองรับคือ "หลัก"
อินหยางขึ้นอยู่กับ "หลัก" มีหลักจึงเรียกว่า "ธรรมะ"

ธรรมะที่เราแสวงหากัน แท้จริงคือหลักของชีวิตหลักของความเป็นคน

คน เที่ยวดั้นด้นค้นหาธรรมะนอกตัว

แม้ภาวะและพลังของธรรมะในมหาจักรวาลจะสัมพันธ์กัน แต่ภาวะและพลังในสรรพสิ่งนั้นๆ ย่อมก่อเกิดคุณาประโยชน์แก่สิ่งนั้นเป็นสำคัญ

คน ค้นหาภาวะและพลังของธรรมะภายนอกตัวจึงไม่ตรงต่อเป้าหมาย จึงมิได้รับคุณาประโยชน์จากธรรมะโดยตรง

อักษรจีนตัว "ธรรมะ 道" จึงแสดงให้เห็นว่าพลังอินหยางในมหาจักรวาลที่มีหลักสัจธรรมรองรับนั้นอยู่ในตัวตนของเราเอง คือ "自 จื้อ" และประจุอยู่ในตัวเราคือ "首 โส่ว" ข้างๆรูปอักษรแสดงความเป็น และแสดงตำแหน่งที่สถิตของ "หลักธรรม" ยังมีรูป " 辶 " หมายถึง "พาหนะ" หมายถึง "ยาน" "แนวทาง "ยั่งยืน"

สรุป

ตัวอักษรคำว่า ธรรมะ เต๋า 道 คือหลักสัจธรรมของอินหยางฟ้าดินที่ประจุอยู่บนศรีษะ ณ ตัวตนของทุกคนเอง จึงมิพึงแสวงหาจากภายนอก จึงอาจประคองรักษาด้วย "ยาน" "พาหนะ" จึงพึงดำเนินตามแนวทางแห่งสัจธรรม กลับคืนไปสู่ภาวะยั่งยืน อันเป็น "ธรรมะ" ที่มีภาวะสูงสุด นั่นคือ ภาวะอนุตตรธรรม
(ผู้แปล ขยายความเพิ่มเติม เพื่อง่ายต่อการศึกษาพิจารณาสำหรับผู้ไม่สันทัดภาษาจีน)