วันอาทิตย์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2555

ธรรมะ...นั้นเป็นไฉน ? - พระโอวาทสิ่งศักดิ์สิทธิ์ พระพุทธจี้กง


ธรรมะ...นั้นเป็นไฉน ?

เมื่อเจ้าทำดี "ธรรมะ" นั้นก็เป็นธรรมที่เที่ยงแท้ หากจิตใจไม่เที่ยงตรง  กายไม่เที่ยงตรง วาจาไม่เที่ยงตรง การกระทำไม่เที่ยงตรง เช่นนี้ แ้ม้ธรรมแท้ก็อาจกลายเป็นธรรมปลอมไ้ด้

รู้หน้าที่ตน ก็คือ "ธรรมะ"  ปฏิบัติหน้าที่ตนให้ดี นั่นก็คือ "ธรรมะ"

ดำรงตนอยู่ในโลกนี้ ทุกแห่งหนล้วนคือความรู้ ทุกแห่งหนล้วนมี "ธรรมะ" ต้องหมั่นตรวจตราอยู่เสมอ
มิใช่มาสถานธรรมจึงจะมี "ธรรมะ" ถึงจะสามารถปฏิบัติธรรมได้ ชีวิตไม่ว่าดำรงอยู่แห่งหนใดก็ล้วนปฏิบัติธรรมได้เช่นกัน

หลักในการดำเนินชีวิต เมื่อถึงเวลานอนก็ต้องนอน นี่คือ "ธรรมะ" ไม่ใช่ถึงเวลานอนแต่ไม่นอน ไม่ใช่เวลานอนแต่กลับนอน นี่ไม่ใช่ "ธรรมะ"

ขณะที่เจ้าพูดจาทิ่มแทงคนอื่น คนที่ชัดเจนที่สุดก็คือ ตัวเจ้า !  เมื่อนั้นจะยังคงพูดจาเช่นนั้นต่ออีกหรือไม่ นั่นคือการแสดงออกถึงจิตใจดีงามที่มีอยู่ และนั่นก็คือ "ธรรมะ"

ความสูงส่งล้ำค่าแห่ง "ธรรมะ" นั้น อยู่ที่การไม่อาจใช้ภาษาตีความได้นั่นเอง การดำรงตนนั้นก็คือ "ธรรมะ" ธรรมะนั้นแฝงอยู่ในทุกสรรพสิ่งซ่อนเ้ร้นอยู่ในทุกอณู

"ธรรมะ" นั้นล้ำลึก แท้จริงก็อยู่ในชีวิตประจำวันของเจ้า ไยจะต้องไปฝึกฝนวิชาอื่นใดที่พิสดาร พลังลึกลับหรือปาฏิหาริย์หาใช่ธรรมะไม่ ! แต่ "ธรรมะ" เป็นสิ่งที่ธรรมดาสามัญไม่มีพิเศษ แท้จริงก็อยู่รอบกายเจ้า แต่อยู่ที่ตัวเจ้าจะใช้มันหรือไม่เท่านั้นเอง ื

"ธรรมะ" เป็นสิ่งที่มีอยู่แล้วในตัวเจ้า "ธรรมะ" คือหลักธรรมแห่งฟ้า คือจิตที่ดีงาม "ธรรมะ" นั้นง่ายแก่การบำเพ็ญ หากปฏิบัติตามครรลองแห่งฟ้าได้ก็จะบำเพ็ญได้ง่าย หลักธรรมแห่งฟ้า ก็คือ ใจพุทธะ ใจโพธิสัตว์ ใจเมตตากรุณา ใจกว้างให้อภัย ใจจริงบริสุทธิ์

เราทุกคนหากทำสิ่งใดควรมีจุดมุ่งหมาย แต่มิใช่ใจมีแผนการเงื่อนงำ นั้นเป็นสิ่งไม่ดี ควรใช้จิตใจซื่อตรงจริงใจปฏิบัติต่อผู้อื่น ช่วยคลี่คลายปมปัญหาให้แก่ผู้อื่น นั่นจึงจะเป็น "ธรรมะ" !

รักษาเวลาอันมีค่าทุกขณะ ในเวลานั้นเจ้าทำอะไรอยู่ รักษาเวลาช่วงนั้นไว้นั่นก็คือ "ธรรมะ" เช่นเดียวกัน

"ธรรมะ" นั้นอยู่ท่ามกลางสรรพสิ่ง "ธรรมะ" อยู่ในชีวิตประจำวัน ใกล้แค่ตรงหน้าไม่มีที่จะไม่โอบอุ้ม เมื่อต้องการมัน มันก็มี "ธรรมะ" ไม่ต้องการมัน มันก็ไร้ซึ่ง "ธรรมะ"

"ธรรมะ" คือ หนึ่ง 
หนึ่ง ก็คือต้น ต้นใช่หรือไม่ว่าสำคัญมาก เมื่อสำคัญก็ต้องก้าวเดิน หากไม่ก้าว ไหนเลยจะไปถึง

ไม่ว่าเรื่องราวใดก็ตามต้องมีลำดับขั้นตอน มีขั้นตอนจึงมีระเบียบวินัย มีระเบียบวินัยจึงมีเหตุผล มีเหตุผลจึงมี "ธรรมะ" ต้องรู้จักก้าว-ถอย อย่างมีเหตุมีผล นั่นจึงเรียกว่า "ธรรมะ"

วันนี้เรียนรู้มาเท่าไหร่ก็ควรแสดงออกมาเท่านั้นเช่นนี้จึงเรียกว่าปฏิบัติ "ธรรมะ" สิ่งที่รู้ในวันนี้ หากรอเวลาผ่านไปแล้วค่อยกระทำนั่นไม่เรียกว่า "ธรรมะ" ดังนั้น เรียนรู้และขณะเดียวก็นำมาปฏิบัติ จึงเรียกว่า "ธรรมะ"

"ธรรมะ" อยู่ที่ไม่เอ่ยคำพูด
"ธรรมะ" อยู่ที่มีสติทุกขณะ
"ธรรมะ" อยู่ที่พยักหน้า
หากเจ้ายิ้มออกมาสักครั้ง นั่นแหละคือ "ธรรมะ"

การอยู่ร่วมกัน ไม่ว่าเรื่องราวหรือสิ่งต่างๆล้วนมีเหตุปัจจัย ขอเพียงใช้ใจเคารพและจริงใจซึ่งกัน สิ่งเหล่านี้ล้วนคือ "ธรรมะ"  รู้จริงต้องกระทำจริง ปฏิบัติจริงต้องทุ่มเทอย่างจริงจัง นั่นจึงเรียกว่า "ธรรมะ"

อย่าเอาแต่คอยสำรวจผู้อื่น "ธรรมะ" ก็คือ การสำรวจตนเอง และย้อนมองส่องตน รู้จุดบกพร่องของตนเอง รู้จุดผิดพลาดของตนเองนี่จึงเรียกว่า "ธรรมะ"

ทำอย่างไรจึงจะให้ทุกคนกลับมาสู่จิตเดิม ทำอย่างไรให้ทุกคนมีจิตยินดี เบิกบานสำราญใจไม่แบ่งพวกแบ่งฝ่าย "ธรรมะ" ก็อยู่ตรงนี้ ไม่ใช่ต้องคิดแผนการให้มากมาย ในขณะนั้นก็คือ "ธรรมะ"

"ธรรมะ" มิใช่สิ่งแปลกประหลาด พิลึกกึกกือ แต่มันใกล้ชิดกับตัวเราในชีวิตประจำวันมากที่สุดต่างหาก อย่างเช่น ความกตัญญู ความสามัคคี หลักปกครอง ๓ คุณธรรม ๘ สิ่งเหล่านี้ล้วนคือ "ธรรมะ"

( หลักปกครอง ๓ คือ เจ้านายกับลูกน้อง พ่อกับลูก สามีกับภรรยา )
( เบญจธรรม ๕ คือ เมตตาธรรม จริยธรรม มโนธรรม สัตยธรรม ปัญญาธรรม )
( คุณธรรม ๘ คือ กตัญญูกตเวที  พี่น้องปรองดอง จงรักภักดี วาจาสัตย์ มโนธรรม จริยธรรม สุจริตธรรม เกรงกลัวต่อบาป )

เป็นธรรมชาติก็คือ "ธรรมะ" ใช้ให้เหมาะสม ใช้ให้เกิดคุณประโยชน์ นี่ก็คือความอัศจรรย์ ก็คือความแยลยลแล้ว

สองตาสำรวมญาณทวาร ก็คือ "ธรรมะ" ทุกขณะเวลาคือ "ธรรมะ" แม้บำเพ็ญอยู่ในโลกีย์ ทว่าพึงเก็บจิตกลับมาเพื่อให้ตนได้สงบสติอยู่เสมอ

อย่าได้คิดว่าการนั่งเท่านั้นจึงเข้าสู่สมาธิได้ แต่เืมื่อนั่งลงไปแล้วหมื่นพันความคิดเกิดขึ้นไม่หยุด จะกลับกลายเป็นฟุ้งซ่าน

ต้องฝึกเยี่ยงนี้เสมอว่าไม่ใช่ของๆเจ้า อย่าได้โลภไม่ใช่ของๆเจ้า อย่าได้เรียกร้อง เืมื่อได้ทำอย่างเต็มกำลังของเจ้าแล้ว ได้มาเท่าไหร่ก็เท่านั้น

ภาระหน้าที่อันพึงกระทำก็ต้องไปจัดการ และต้องรักษาวินัยเคร่งครัด






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น